istanbul escort izmir escort istanbul escort sisli escort sisli escort taksim escort maltepe escort sex shop sex shop seks shop istanbul escorts
hehe
Silkscreen Printing การพิมพ์ (ซิงค์) สกรีน

Silkscreen Printing การพิมพ์ (ซิงค์) สกรีน

Silkscreen Printing การพิมพ์ (ซิงค์) สกรีน

 

ประโยคยอดฮิตติดหูกับคำถามที่ค้างคาใจเมื่อพูดถึงงานสกรีน “ทำไมค่าทำบล็อกสกรีนแพงจัง”  “ทำไมค่าสกรีนเสื้อสูงขนาดนี้” วันนี้ my home มีคำตอบมาให้  โดยชวนทุกคนลงมือทำไปพร้อมกันเลยค่ะ  เริ่มตั้งแต่กระบวนการทำบล็อกสกรีน สร้างสรรค์ออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยตัวเอง  รับรองได้ชิ้นงานมาสเตอร์พีซ สวยคุ้มค่าแน่นอน

การผลิตต้นแบบ 

1.ออกแบบลวดลายลงบนกระดาษโดยแยกส่วนที่ต้องการให้เกิดสี (ส่วนที่ระบายสีดำ)  และส่วนที่ต้องการให้เป็นช่องว่าง (Space)

2.ลอกลายลงบนกระดาษไขหรือแผ่นพลาสติกใส  

tips
สีสกรีน สีสกรีนกระดาษ สีสกรีนผ้า สีอะคริลิกทั่วไปสามารถสกรีนได้เช่นกัน โดยต้องนำมาผสมกับ AcrylicMediums เพื่อเปลี่ยนความเข้มข้นให้เนื้อสีบางและละเอียดยึดติดพื้นผิวได้ดี

อุปกรณ์

• ภาพต้นแบบ  

• กระดาษ กระเป๋าผ้า

• ผ้าซิลค์สกรีน  

• เทปใส  

• บล็อกสกรีน
(โครงสี่เหลี่ยมสำหรับขึงผ้าสกรีนมีให้เลือกใช้ทั้งแบบไม้และอะลูมิเนียม)  

• ปืนยิงแม็กซ์  

• รางปาดกาว  

• กาวอัด  

• น้ำยาไวแสง  

• ยางปาด  

• สี  

• กระบอกฉีดน้ำ

• แปรง

โต๊ะฉายแสง

ขั้นตอนการทำ

การทำ Block Screen

1.ขึงผ้าซิลค์สกรีนลงบนเฟรมไม้

2.ตัดผ้าส่วนเกินออก

3.ทำความสะอาดผ้าซิลค์สกรีนด้วยสบู่เหลว ผึ่งลมให้แห้ง

4.ผสมกาวอัดกับน้ำยาไวแสงตามอัตราส่วนของกาวอัดแต่ละชนิด

5.เทกาวอัดที่ผสมแล้วลงบนบล็อกสกรีน  ใช้รางปาดกาวปาดให้เรียบทั้งสองหน้า  นำบล็อกสกรีนที่ปาด กาวอัดแล้วเข้าห้องมืดหรือเป่าด้วยเครื่องเป่าลมอุ่น

ให้แห้งสนิท

6.วางภาพต้นแบบบนโต๊ะฉายแสง

7.วางบล็อกสกรีนทับลงไปบนต้นแบบ

8.ใช้ผ้าดำคลุมบนบล็อกสกรีนและกดทับด้วยวัสดุที่แบนเรียบ  เช่นหนังสือ กระเบื้องเซรามิก เพื่อให้ลายต้นแบบแนบติดกับบล็อกสกรีน เปิดไฟเพื่อถ่ายแบบลงบนบล็อกสกรีน 15 วินาที (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับแสงไฟที่ใช้)

9.นำไปล้างน้ำสะอาด  ฉีดน้ำใส่บริเวณต้นแบบ  กาวอัดที่ถูกแสงจะแข็งตัวติดผ้าล้างไม่ออก  กาวอัดส่วนที่ไม่ถูกแสงเนื่องจากต้นแบบส่วนที่เป็นสีดำบังเอาไว้จะถูกน้ำล้างออก  นำไปเป่าลมให้แห้ง  เตรียมการพิมพ์ต่อไป

ขั้นตอนการทำ

การทำ Print Screen

1.ปิดเทปกาวที่กรอบบล็อกสกรีนทั้งสี่ด้าน ไม่ให้สีเปื้อนโดนกรอบไม้

2.ใช้ตัวล็อก (Hinge Block) ยึดบล็อกสกรีนติดกับโต๊ะ จากนั้นยกบล็อกสกรีนขึ้นเพื่อวางกระดาษหรือผ้าที่ต้องการสกรีน แล้วจึงวางบล็อกสกรีนทับลงไป

3.เทสีลงบนบล็อกสกรีน

4.ใช้ยางปาดสีปาดทับที่เป็นลวดลายทั้งหมด กดน้ำหนักพอประมาณ

5.ปาดสีอีกครั้งโดยกดน้ำหนักให้แน่น 

Print Screen บนกระดาษ

Print Screen บนผ้า

The Archivist STUDIO คุณวุ้น - คณาพร  ผาสุข และคุณมิน - มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์

tips

ผ้าซิลค์สกรีน  คือ  ผ้าที่ทอขึ้นเป็นพิเศษ  ซึ่งจะมีระยะห่างของเส้นใยเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็ก ๆ ขนาดเท่ากัน  

ประเภทของผ้าสกรีน
2.1 ชนิดของเส้นใย  มี 3 แบบ คือไนลอนพอลิเอสเตอร์ โลหะ

2.2 ลักษณะของเส้นใย  มี 2 แบบ คือแบบเส้นเดี่ยว (Monofilament) และแบบเส้นควบ
หรือหลายเส้น (Multifilament)

2.3 ขนาดของเส้นใย  หมายถึง  ความหนาของผ้า S (Small) = ผ้าชนิดบาง / M (Medium) = ผ้าชนิดกลาง / T (Thick) = ผ้าชนิดหนา / HD (Heavy Duty) = ผ้าที่ทนทานสูง

2.4 ขนาดของรูผ้าหรือความห่างระหว่างเส้นใย บอกขนาดเป็นนัมเบอร์  เช่น  77,  80,  90,100,  120,  150  ตัวเลขนัมเบอร์นี้มาจากจำนวนเส้นด้าย/ซม.หรือนิ้ว  มีอยู่หลายเบอร์ให้เลือกตามความเหมาะสมของการพิมพ์และวัสดุที่ใช้พิมพ์  ซึ่งมีการดูดซึมของหมึกที่แตกต่างกัน

ของรางวัล

1.Tote Bag  กระเป๋าใหญ่ใส่ของจุใจ

2.Small Bag  สีที่ใช้สกรีนสามารถเปลี่ยนได้ตามอุณหภูมิ

3.Small Bag

4.Postcard สีทองแดง

LuckyDraw

กติกาการร่วมสนุก

1. เขียนบรรยายสั้น ๆ ว่า “คุณชอบคอลัมน์ my craft,  my handy เพราะอะไรและอยากให้เราเพิ่มเติมอะไร”  พร้อมชื่อ - นามสกุล  และที่อยู่  ในการจัดส่งของรางวัล

2. ส่งมาที่  บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง  จำกัด  (มหาชน) / กองบรรณาธิการนิตยสาร my home  378  ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี)  แขวงตลิ่งชัน  เขตตลิ่งชัน  กทม.  10170  วงเล็บมุมซอง (ร่วมสนุกกิจกรรม Lucky Draw)

3.ประกาศรายชื่อผู้โชคดีผ่านทางนิตยสาร my home  ฉบับกรกฎาคม 2559 (คอลัมน์ my craft)

ขอบคุณ The Archivist สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Archivistproject @thearchivistproject www.thearchivist.com hello@thearchivist.com 08-4066-4960 ติดตามเวิร์คชอปสกรีนพริ้นต์หลากหลายรูปแบบได้ที่หน้าเพจ facebook  มีอัพเดตทุกเดือน

Story : อรพรรณ วัจนะเสถียรกุล
Photo : ณัฐวุฒิ  เพ็งคำภู Style : วรวัฒน์ ตุลยทิพย์